การตรวจสอบโครงสร้างเชิงลึกหรือการตรวจสอบโครงสร้าง

          มุ่งเน้นการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารเป็นหลัก โดยอาจแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

          1. การตรวจสอบเพื่อแก้ไขซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร

          เป็นการตรวจสอบด้วยสายตาเป็นหลัก (โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์) ใช้เครื่องมือวัดและเคาะ เพื่อให้ทราบถึงขนาดปริมาณความเสียหาย ตำแหน่งความเสียหาย และวิธีการแก้ไข โดยอาจมีการตรวจสอบอื่นๆเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายและนำไปพิจารณาวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป

          เทียบได้กับการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ในข้อ

(จ) การชำรุดสึกหรอของอาคาร

(ฉ) การวิบัติของโครงสร้างอาคาร

(ช) การทรุดตัวของฐานรากอาคาร

  

           2.การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงเบื้องต้นเพื่อปรับปรุงโครงสร้างอาคารเพื่อการใช้งาน

เป็นการตรวจสอบด้วยเครื่องมือทดสอบโดยการสุ่ม (โดยวิศวกรและทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์)  เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลทั้งหมดของโครงสร้าง เช่น กำลังของวัสดุ แบบโครงสร้าง ณ ปัจจุบัน คุณสมบัติของชั้นดิน ระดับ และความเสียหายของโครงสร้าง แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างต่อไป ซึ่งจะต้องเซนต์รับรองโดยวุฒิวิศวกร

           3.การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงเชิงลึก เพื่อต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงอาคาร และ/หรือขออนุญาต

         เป็นการตรวจสอบเหมือนกับ 2.การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงเบื้องต้น เพียงแต่ในขั้นตอนการนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อทราบถึงความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างนั้น จะเพิ่มน้ำหนักหรือส่วนที่ต้องการต่อเติมเปลี่ยนแปลงใหม่ให้เป็นไปตามที่ต้องการ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลดูว่ามีส่วนไดที่ต้องปรับปรุงใหม่บ้าง ส่วนไดที่ยังคงมีความมั่นคงแข็งแรงอยู่ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อไป

       เทียบได้กับการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ในข้อ (ก) การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร (ข) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร (ค) การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร (ง) การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร